รีวิว ‘รายากับมังกรตัวสุดท้าย’ แอนิเมชั่นที่เปิดพื้นที่ของชาวอาเซียนในจักรวาลดิสนีย์
- Marilyn
- 0
- Posted on
‘รายากับมังกรตัวสุดท้าย’ แอนิเมชั่นที่เปิดพื้นที่ของชาวอาเซียนในจักรวาลดิสนีย์
เมื่อยังเล็ก เด็กผู้หญิงหลายคนอาจมีคำตอบเรื่องอาชีพในอนาคตว่าอยากเป็นเจ้าหญิงดิสนีย์ ชุดเจ้าหญิงที่หลายคนมีประกอบเป็นเซ็ตด้วยเสื้อผ้าสีหวาน เครื่องประดับ มงกุฏ และวิกผมสีต่าง ๆ เราฝันอยากเป็นเจ้าหญิงที่อยู่ในปราสาทมียอดพุ่งแหลม ต่างกับบ้านหลังคาจั่วของเรา ดูแล้วตื่นตาตื่นใจแต่ช่างไกลตัว ดูหนังออนไลน์ และถ้ามีใครพูดว่าดิสนีย์จะมีตัวละครเจ้าหญิงไทยคงเป็นเรื่องไกลเกินฝัน แต่วันนี้ ‘รายากับมังกรตัวสุดท้าย’ สร้างความอบอุ่นคุ้นเคยให้เราเมื่อได้ชม สถาปัตยกรรม ลายผ้า อาหาร วัฒนธรรม หรือแม้แต่ชื่อตัวละครที่มีหลายชื่อที่คุ้นหู สร้างความรู้สึกเหมือนได้กินอาหารไทยเมื่อไปไกลบ้าน ไม่ใช่ไทยแท้ แต่เราสัมผัสได้ถึงรสชาติของบ้านเกิดที่อยู่ในนั้นอย่างชัดเจน

รายา เป็นแอนิเมชั่นที่ได้รับแรงบันดาลใจจากวัฒนธรรมเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ แต่อะไรคือแรงดึงดูดที่พาให้ดิสนีย์อยากผลิตหนังที่ได้แรงบันดาลใจมาจาก ประเทศเล็ก ๆ ที่ประชากรในแต่ละประเทศอยู่เพียงหลักสิบหลักร้อยล้านคน ต่างกับที่เคยพยายามบุกตลาดจีนที่มีประชากรอยู่หลักพันล้านด้วยมู่หลาน?
คำตอบน่าจะเป็นตัวเลขประชากรกว่า 670 ล้านคนทั่วเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ‘รายากับมังกรตัวสุดท้าย’ จึงเป็นแอนิเมชั่นที่ไม่ได้แรงบันดาลใจจากประเทศใดประเทศหนึ่ง แต่เป็นตัวแทนของประชากรทั้งภูมิภาค นอกจากนี้ยังเป็นการนำร่องการมาของดิสนีย์พลัส บริการสตรีมมิ่งที่กำลังจะเข้ามาเปิดบริการในภูมิภาคของเราในอนาคตอันใกล้นี้ เสมือนเป็นจดหมายผูกมิตรจากดิสนีย์ว่าตลาดเอเซียตะวันออกเฉียงใต้มีพื้นที่ในจักรวาลของดิสนีย์เช่นกัน
ความฉลาดของดิสนีย์และทีมงานคือการผสมเอาวัฒนธรรมเข้าไว้ด้วยกันอย่างลงตัว ไม่ได้เนียนเป็นเนื้อเดียวจนแยกกันไม่ออกและกลายเป็นการเหมารวม แต่ทำให้คนดูสนุกกับการค้นหาวัฒนธรรมของตัวเองที่ซ่อนอยู่ในแอนิเมชั่น เหมือนเราที่ตื่นเต้นเล็กๆ ทุกครั้งที่ได้ยินชื่อ เบญจา น้อย ตุ๊กตุ๊ก ปรานี เห็นตัวละครกินของที่เราคุ้น ๆ กันตามตลาด สถาปัตยกรรมคล้ายคลึงบ้านเมืองของตัว แต่ขณะเดียวกันก็ชี้ได้ไม่ชัดว่าตัวร้ายหรือนางเอกมาจากประเทศไหนให้ใครรู้สึกระคายใจ ทุกอย่างที่ใส่เข้าไปค้นคว้ามาอย่างดีจากผู้เชี่ยวชาญ เลือกแล้วอย่างระมัดระวังและให้เกียรติกันอย่างเต็มที่
เห็นได้ชัดเจนจากการโปรโมต และการคัดเลือกทีมงานที่มาอยู่เบื้องหลัง ถึงแม้นักแสดงส่วนใหญ่ที่ให้เสียงพากย์จะเป็นชาวอเมริกันและอังกฤษ เชื้อสาย จีน ฮ่องกง และเกาหลี ที่มีชื่อเสียงอยู่แล้วในวงการ มีเพียงนักแสดงเชื้อสายเวียดนามสองคนเท่านั้น แต่ทีมงานเบื้องหลังทีมาจากหลายประเทศในภูมิภาคนี้ก็ถูกนำออกมาโปรโมตในประเทศบ้านเกิดอย่างเต็มที่เช่นกัน อย่าง ‘อะเดล ลิม’ และ ‘กี เหงียน’ ผู้เขียนบทชาวมาเลเซียและเวียดนาม หรือ ‘ฝน วีรสุนทร’ Head of Story จากประเทศไทย และการใช้กล่าวว่านักแสดงไทยอย่าง ‘ญาญ่า อุรัศยา’ เป็นหนึ่งในแรงบันดาลใจการสร้างตัวละครขึ้นมาเป็นต้น สิ่งเหล่านี้สร้างพื้นที่ให้คนดูจากชาติต่างๆ ในแอนิเมชั่นเรื่องนี้ เน้นย้ำความเป็นพหุวัฒนธรรม ไม่แพ้กับเนื้อเรื่องและภาพที่เคลื่อนไหวอยู่ตรงหน้าเรา
ด้านเนื้อเรื่อง แม้จะมีความเป็นสูตรสำเร็จสไตล์ดิสนีย์แต่ก็นำเอาข้อปัญหาที่เกิดขึ้นจริงอย่างการไม่ไว้ใจกันระหว่าประเทศเพื่อนบ้าน เพราะอดีตที่เคยขัดแย้งกัน การมองชาติพันธุ์ต่างๆ อย่างเหมารวม เหมือนที่รายามองเผ่าต่างๆ ผ่านทัศนคติที่ถูกหลอมมาจากอดีตมาใส่ไว้ ให้เราได้ฉุกคิดว่าแม้เราจะอยู่รวมกัน แต่น้อยครั้งที่เราจะรู้สึกว่าเราเป็นหนึ่งเดียวกัน พร้อมกับชี้ให้เราเห็นความงามของความเหมือนในความต่าง ที่เราอาจจะลืมไปแล้วหรือไม่ได้คิดถึงมัน
‘รายากับมังกรตัวสุดท้าย’ จึงไม่เพียงแต่ทำให้เรารู้สึกว่าเรามีจุดยืนในจักรวาลดิสนีย์เท่านั้นแต่พาทำให้เรารู้สึกเหมือนได้เดินเข้าไปใกล้เพื่อนบ้านอาเซียนของเรามากขึ้น ราวกับว่าได้ยืนเคียงข้าง ถือเสี้ยวของมณีมังกรและนำมารวมกันเป็นหนึ่งในภาพยนตร์เรื่องนี้ด้วยกัน
กล่าวถึงเนื้อเรื่องกันก่อนตัวหนังเปิดด้วยตำนานเมืองคูมันดราดินแดนยิ่งใหญ่ที่มีสายน้ำผ่านจนเกิดเป็นอวัยวะมังกร 5 เมืองได้แก่ กรงเล็บ เขี้ยว สันหลัง หัวใจ และ หาง แต่เมื่ออสูรร้ายอย่างดรูนบุกโลกเหล่ามังกรจึงพร้อมใจกันต่อสู้สละชีวิตทิ้งไว้เพียงอัญมณีแห่งมังกรที่เก็บอยู่ในเมืองของเผ่าหัวใจ
และเมื่อกาลผันผ่านร่วม 500 ปี เบญจา (แดเนียล แด คิมให้เสียงพากย์) หัวหน้าเผ่ามังกรคิดรวมเผ่าสร้างคูมันดราอีกครั้งจึงเปิดบ้านเชิญเผ่าต่าง ๆ เข้ามาและมันทำให้ รายา (เคลลี มารี ทราน ให้เสียงพากย์) เจ้าหญิงเผ่าหัวใจ ได้พบกับ นัมมาอารี (เจมมา ชานให้เสียงพากย์) เจ้าหญิงเผ่าเขี้ยว จนเกิดความโกลาหลขึ้นเมื่อฝ่ายหลังใ้ช้มิตรภาพหลอกล่อเพื่อชิงอัญมณีแห่งมังกรจนแตกเป็นเสี่ยง ๆ และปลดปล่อยดรูนออกมากัดกินและทำให้ผู้คนถูกสาปแข็งเป็นหินอีกคร้้ง และเพื่อแก้ไขเรื่องทั้งหมดรายาจำต้องรวบรวมเศษอัญมณีจากเมืองต่าง ๆ เพื่อปลุกชีพมังกรและถอนคำสาปให้มนุษย์หินกลับมามีชีวิตอีกครั้ง
เอาล่ะก่อนจะไปตัดสินว่ารายาเป็นคนชาติไหน ? เรามาทำความเข้าใจในหลักการคิดเรื่องเสียก่อน เอาเข้าจริงคือพลอตเรื่องนี่มาทาง Brave ของฝั่งพิกซาร์ไม่น้อยและมันก็ยังเดินตามไบเบิลหนังทำเงินของดิสนีย์แทบทุกกระเบียดนิ้วโดยเฉพาะตัวละครน่ารักที่มาแย่งซีนโดยเฉพาะ คราวนี้ Raya ก็ขนมาเพียบทั้งเจ้าตุ๊กตุ๊กสัตว์ที่ผสมทั้งความบ้องแบ๊วของหมาตัวเหมือนเม่นและกลิ้งได้เหมือน BB8 ใน Star Wars แถมด้วยเหล่าแก๊งจอมโจรผ้าอ้อมสุดแสบ นำโดยน้อยทารกสาวแสบที่เธอพบในเผ่ากงเล็บ ไม่นับรวมพวกแมวยักษ์ของเผ่าเขี้ยวอีก โอ้โหคือแทบจะสำลักความปุกปุยบ้องแบ๊วกันทั้งเรื่องก็ว่าได้
และแน่นอนว่าในสูตรสำเร็จดิสนีย์มักมีประเด็นที่ต้องการสื่อเสมอโดยเฉพาะ Raya เองก็มีประเด็นเรื่องความไว้ใจที่หนังเองก็ช็อกคนดูด้วยฉากเปิดเรื่องที่เต็มไปด้วยหายนะที่น่าตกใจไม่น้อย และมันให้ภาพด้านลบกับความไว้ใจมาก ๆ จนมันนำไปสู่เควสต์ของนางเอกที่ต้องกอบกู้สถานการณ์โดยประเด็นเรื่องความไว้ใจเป็นธีมที่ร้อยรัดกันไปทั้งเรื่องแต่สิ่งหนึ่งที่หนังไม่อาจสร้างความไว้ใจให้เราได้เลยคือโจทย์ของวัฒนธรรมที่หนังเอามานำเสนอนี่แหละ
ทีนี้สิ่งที่คิดว่าน่าสนใจและชวนคิดต่อมากคือการพยายามสร้างโลกและเรื่องราวที่อิงกับความเป็นอาเซียนนี่แหละ ที่ดิสนีย์ก็ไม่ได้เอาวัฒนธรรมมาทื่อ ๆ หรอกนะครับแต่ปน ๆ กันให้เราจับนู่นผสมนี่คิดเอาเองว่ามาจากชาติไหนดังนั้นเราจึงเห็นหน้าตาตัวละครที่โครงหน้าคล้ายคนฮาวายจาก Stitch & Lilo มาอยู่ในชุดคล้ายคนอินโดนีเซียมั่ง เวียดนามมั่ง เดินอยู่ท่ามกลางภูมิประเทศแบบเกาะบาหลี แต่ชื่อตัวละครปน ๆ มีทั้งลาว – ไทยอย่าง น้อย ทอง บุญ ตุ๊กตุ๊ก (แต่มังกรชื่อ ซิซู นะ) บวก ๆ มั่ว ๆ กับชื่อประหลาด ๆ ที่ไม่คุ้นเลยว่าจะเป็นคนอาเซียนแต่หากมองดูดี ๆ เราจะพบว่า Raya อาจกำลังวิพากษ์บางอย่างที่เป็นเอกลักษณ์มากสำหรับคนอาเซียนนั่นคือการหาเรื่องทะเลาะกันเอง